วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โฉมใหม่การสอบแอดมิชชั่น ปี2553

มีการปรับเปลียนระบบการสอบแอดมิชชั่นกันนิดหน่อยนะครับ ก็เอามาให้อ่านกันนะ ใครยังไม่ทราบก็ลองอ่านดูได้นะครับ

1. ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไปน้องๆที่จะแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องยื่นคะแนน O-Net ทั้งหมด 8 วิชา...จากแต่ก่อนที่ยื่นแค่ 5 วิชา.....โดยจะเพิ่มวิชาสุขศึกษา, การงานอาชีพ และศิลปศึกษา

2. มีการเปลี่ยนชื่อการสอบ A-Net เป็นการสอบ General Aptitude Test ซึ่งผู้ที่ออกข้อสอบ และดำเนินการจัดสอบก็จะเป็น สทศ. (หน่วยงานที่ออกข้อสอบ O-Net)

3. มีการเปลี่ยนชื่อการสอบวิชาเฉพาะเป็นการสอบ Professional Aptitude Test ซึ่งผู้ที่ออกข้อสอบ และดำเนินการจัดสอบก็จะเป็น สทศ. (หน่วยงานที่ออกข้อสอบ O-Net)

4. เปลี่ยนแปลงค่าน้ำหนักและองค์ประกอบเป็นดังนี้

- GPAX 20%

- O-NET 30%

- General Aptitude Test 20%

- Professional Aptitude Test 30%

ยังไงก็ขยันๆ กันนะครับ สู้ๆๆๆ ตั้งใจเสียแต่ตอนนี้ เพื่ออนาคตที่ดีของเราครับ มีปัญหา มีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายวิชาใด สามารถฝากไว้ได้ครับผม เดี๋ยวจะกลับมาเคลียร์ให้

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปัญหาการแอดมิสชัน โดยใช้ O-NET GAT และ PAT ปี 2553


  1. ปัญหาค่าใช้จ่ายในการสมัครสูง

    กรณีตัวอย่าง เด็กสายวิทย์

    สมมุติเด็กต้องการเรียนพยาบาล ต้องสอบ O-NET GAT และ PAT 2
    ถ้าสมัครสอบอย่างละ 1 ครั้ง GAT 200 บาท PAT2 200 บาท รวม 400 บาท
    สมัครสอบอย่างละ 3 ครั้ง รวม 1,200 บาท

    ในการสอบให้สอบได้ 3 ครั้ง เอาคะแนนครั้งที่ดีที่สุดของแต่ละวิชา แต่เด็กสมัครได้ครั้งเดียว โดยต้องระบุไว้ในการสมัครว่าจะสอบกี่ครั้ง ครั้งไหนบ้าง วิชาอะไรบ้าง คิดเงินตามจำนวนวิชาและจำนวนครั้ง ซึ่งเด็กต้องสมัครตั้งแต่ ม.5 ภาคเรียนที่ 1 ในความเป็นจริง เด็ก ม.5 เทอม 1 เขายังไม่รู้หรอกครับ ว่าเขาถนัดอะไร จะเรียนอะไรกันแน่ เพราะรู้ผลการเรียนมาแค่ 2 เทอม เขาต้องสมัครให้หลาย PAT ไว้ก่อน เพื่อจะมีทางเลือกมากขึ้น

    สมมุติ ถ้าวางแผนว่าจะเรียน

    กลุ่มวิชา
    สอบวิชา
    ค่าสมัคร
    สอบ 1 ครั้ง
    สอบ 2 ครั้ง
    สอบ 3 ครั้ง
    วิทยาศาสตร์สุขภาพ (เช่นแพทย์ เภสัช พยาบาล ) GAT PAT 2
    400
    800
    1,200
    วิทย์สุขภาพ+วิศวะ GAT PAT 2 PAT 3
    600
    1,200
    1,800
    วิทย์สุขภาพ+วิศวะ+สถาปัตย์ GAT PAT 2 PAT 3 PAT 4
    800
    1,600
    2,400
    วิทย์สุขภาพ+วิศวะ+สถาปัตย์+วิทยาศาสตร์ หรือเกษตร GAT PAT 1 PAT 2 PAT 3 PAT 4
    1,000
    2,000
    3,000
    วิทย์สุขภาพ+วิศวะ+สถาปัตย์+วิทยาศาสตร์ หรือเกษตร+ครู GAT PAT 1 PAT 2 PAT 3 PAT 4 PAT 5
    1,200
    2,400
    3,600
  • ยังไม่รวมค่าที่ต้องเดินทางหรือที่พักไปสอบแต่ละครั้งสำหรับเด็กต่างอำเภอ เพราะสนามสอบอยู่ในเมือง และค่าเดินทางไปสอบ 0-net อีก คิดดูว่าต้องเสียเงินอีกเท่าไหร่
  • ลองคิดดูแค่สมัครยังต้องใช้เงินมากขนาดนี้ แล้วไม่มีหลักประกันว่า สมัครไปแล้วจะมีที่เรียนหรือเปล่า เพราะต้องรอแอดมิสชันอีกครั้งหนึ่ง (ซึ่งก็ต้องเสียค่าสมัครแอดมิสชันอีกรอบ) เอาเปรียบเด็กเกินไปหรือเปล่า เศรษฐกิจแบบนี้ลูกคนจนๆ ที่เขาอยากจะเรียนจะทำอย่างไร อย่าลืมนะครับเด็กยังหาเงินเองไม่ได้ ต้องขอพ่อแม่ เด็กบางคนไม่มีพ่อแม่ ต้องหาเงินเอง ค่าอาหารค่าใช้จ่ายแต่ละวันก็ลำบากแล้ว เคยคิดถึงเด็กกลุ่มนี้บ้างหรือไม่

    สรุปผลที่ตามมา

    - เด็กที่ยากจนไม่มีเงินเสียค่าสมัครสอบ ก็ไม่สมัคร ทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา
    - เด็กที่มีเงินน้อยกว่าสมัครสอบน้อยครั้งกว่า ก็เสียเปรียบเด็กที่มีเงินมากกว่า

    ปัญหาความไม่เชื่อถือระบบแอดมิสชันนี้ของมหาวิทยาลัย และความไม่เป็นเอกภาพในการรับนักศึกษา ทำให้มีการรับตรงเพิ่มขึ้น รับจากการแอดมิสชันลดลง

    ผลจากการแอดมิชชันทำให้นักศึกษาถูกรีไทล์เพิ่มขึ้น ผลการเรียนต่ำลง ตามที่เป็นข่าว ทำให้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาแบบรับตรงเพิ่มขึ้น (บางที่ถึง 80%) ทำให้รับจากการแอดมิสชันลดลง กลายเป็นว่าเด็กต้องเสียค่าสมัครสอบแพง แต่โอกาสในการได้ที่เรียนจากการแอสมิชชันกลับลดลง เหมือนเด็กถูกหลอกให้เสียเงิน
  1. นักเรียนเสียโอกาสจากความสับสน ความไม่เข้าใจ ความไม่แน่นอน ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ
    ระบบนี้มีนักเรียนอีกมากที่ยังไม่เข้าใจ บางโรงเรียนไม่ได้ทำความเข้าใจกับเด็ก หรือทำความเข้าใจแล้วแต่เด็กยังไม่เข้าใจ และเชื่อว่า ขณะนี้มีเด็กอีกมากที่กำลังจะขึ้น ม. 6 ยังไม่รู้ตัว ว่าตนเองไม่มีสิทธิ์แอดมิสชันแล้ว เพราะไม่ได้สมัครสอบ GAT และ PAT

  2. เด็กที่ไม่ได้สมัครสอบ GAT และ PAT ขาดกำลังใจในการเรียน พฤติกรรมเบี่ยงเบน
    มีเด็กบางกลุ่มที่ไม่ได่สมัครสอบ GAT และ PAT (เพราะไม่มีเงิน) รู้ว่าตนเองไม่มีสิทธิ์แอดมิสชันแล้ว เริ่มไม่สนใจเรียน ขาดกำลังใจในการเรียน พฤติกรรมเบี่ยงเบน

  3. นักเรียนโอกาสในบางโครงการ เช่น
    - โครงการจุฬาชนบท ปีการศึกษา 2553 (หนังสือ ศธ 0512.72/201)
    เป็นโครงการรับนักเรียนจากจนจากชนบทเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะต่าง ๆ โดยได้รับทุนอุดหนุนจนจบการศึกษา ใช้ผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 ที่จะสอบในวันที่ 4 ? 12 กรกฎาคม 2552 เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือก


    แสดงว่า เด็กที่ไม่สมัครสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 ก็เสียโอกาส เหมือนเป็นการบังคับโดยอ้อมให้ต้องสมัครสอบครั้งที่ 2 และเด็กยากจนจริง ๆ จะเอาเงินที่ไหนไปสมัคร (สทศ. จะเปิดรับเพิ่มในช่วง 20 เมษายน - 10 พฤษภาคม 2552 แปลกนะครับ ที A-NET เด็กเรียกร้องแทบตายให้เปิดโอกาสให้รับเพิ่ม อ้างกระทบสิทธิเด็กคนอื่น แต่คราวนี้ สทศ. เปิดรับสมัครเพิ่ม สงสัยรอบที่แล้วได้เงินน้อย ยังไม่ทะลุเป้า ฝากถามหน่อยครับ ที่จะเปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT เพิ่มเติม ไม่กลัวไปกระทบสิทธิ์เด็กที่สมัครและจ่ายเงินตามกำหนดเหมือนที่ สกอ. อ้างหรือครับ ไม่กลัวเด็กฟ้องหรือครับ)

ที่มา : http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1113